ประเทศนิวซีแลนด์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นิวซีแลนด์ New Zealand (อังกฤษ) Aotearoa (มาวรี) | |
---|---|
เมืองหลวง | เวลลิงตัน 41°18′S 174°47′E / 41.300°S 174.783°E |
เมืองใหญ่สุด | ออคแลนด์2,3 |
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ ภาษามาวรี ภาษามือ4 |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 | |
ซินดี คีโร | |
คริสโตเฟอร์ ลักซัน | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร) |
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร | |
26 กันยายน พ.ศ. 24505 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 268,021 ตารางกิโลเมตร (103,483 ตารางไมล์) (74) |
1.6 | |
ประชากร | |
• พฤศจิกายน 2024 ประมาณ | 5,281,370[1] (121) |
• สำมะโนประชากร 2561 | 4,699,755[2] |
[convert: %s]%s (167) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2563 (ประมาณ) |
• รวม | $205.541 พันล้าน[3] |
• ต่อหัว | $41,072[3] (29) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2563 (ประมาณ) |
• รวม | $193.545 พันล้าน[3] |
• ต่อหัว | $38,675[3] (23) |
จีนี (2562) | 33.9[4] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2562) | 0.931[5] สูงมาก · อันดับที่ 14 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) |
เขตเวลา | UTC+12 (NZST6) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+13 (NZDT (ก.ย. - เม.ย.)) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 64 |
โดเมนบนสุด | .nz |
1God Save The King เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบันใช้เฉพาะประมุขเท่านั้น [1] 2ออคแลนด์ เป็น "เขตเมือง (urban area)" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วน ออคแลนด์ซิตี เป็น "นคร (city)" ที่ปกครองโดยระบบเทศบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 3จำนวนประชากรที่ตั้งถิ่นฐานถาวร ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548[2] 4ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการโดยพฤตินัย (ตามที่ใช้กัน) ในขณะที่อีกสองภาษามีสถานะเป็นภาษาทางการโดยนิตินัย (ตามกฎหมาย) 5 มีอีกหลายวันที่ที่อาจพิจารณาเป็นวันที่ได้รับเอกราช ดู เอกราชนิวซีแลนด์ 6หมู่เกาะแชทัมมีเวลาเร็วกว่าเวลานิวซีแลนด์ 45 นาที |
นิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน
นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด[6][7] ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองงา
นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่ใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่ภายใต้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นราชินีพระองค์เดียวกับที่ทรงปกครองประเทศอื่นในเครือจักรภพแห่งอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ฟิจิ ฯลฯ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอ ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองตนเองพิเศษโดยมีรัฐบาลราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นผู้ชี้แนะและปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความสวยงามทางธรรมชาติ เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปนิยมการเดินทางเดินทางและสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ซึ่งเป็นกีฬาประจำชาติ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอกซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล
การกำเนิดของนิวซีแลนด์
[แก้]นิวซีแลนด์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 60 ล้านปีก่อน ห่างจากการกำเนิดประเทศต่าง ๆ ในโลกดั้งเดิมเมื่อกว่า 200 ล้านปีก่อน ดินแดนของนิวซีแลนด์และทวีปอื่น ๆ ของโลกได้รวมตัวกันเป็นแผ่นดินใหญ่ในชื่อ กอนด์วานา ก่อนที่เมื่อ 83 ล้านปีก่อน ได้แยกตัวออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ ในส่วนของนิวซีแลนด์ได้แยกตัวออกมาเป็นผืนแผ่นดินที่เป็นทวีปที่เรียกว่า ซีแลนเดีย มีขนาดเท่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ 60 ล้านปีก่อน ซีแลนเดียได้จมลงใต้ทะเลเช่นเดียวกับทวีปแอตแลนติส จนกระทั่งเมื่อ 24 ล้านปีก่อน เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเปลือกโลกใต้พิภพผลักดันให้แผ่นดินค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาจากน้ำอย่างช้า ๆ จนเป็นประเทศนิวซีแลนด์อย่างในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ภาพถ่ายจากดาวเทียมเผยให้เห็นส่วนของซีแลนเดียที่จมลงใต้ทะเลลึกกว่า 5,000 ฟุต แต่ยังมีความเชื่อว่าซีแลนเดียไม่ได้จมน้ำทั้งหมด เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า บางส่วนของซีแลนเดียไม่ได้จมน้ำทั้งหมดและในปัจจุบันนิวซีแลนด์มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น
ปัจจุบัน นิวซีแลนด์อยู่ห่างจากออสเตรเลียทางตอนใต้ราว 1,000 ไมล์ แต่ทว่าความหลากหลายทางชีวภาพมีความแตกต่างจากออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เกิดจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เดินทางมาสู่นิวซีแลนด์ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นทวีปซีแลนเดีย จนกระทั่งเมื่อราว 700 ปีก่อน มนุษย์กลุ่มแรกก็เดินทางมาถึงนิวซีแลนด์คือชาวชาวมาวรี อันเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน[8]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ประเทศนิวซีแลนด์แบ่งออกเป็น 2 เกาะหลัก และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะตั้งอยู่กลางกระแสน้ำแบ่งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ทางเหนือและทางใต้ของเกาะถูกแบ่งโดยช่องแคบคุกซึ่งมีความกว้าง 20 กิโลเมตร และเป็นจุดที่แคบที่สุดของเกาะ ปริมาณพื้นที่ของประเทศคือ 268,680 ตารางกิโลเมตร ( 103,738 ตารางไมล์ ) มีขนาดเล็กกว่าประเทศอิตาลีและประเทศญี่ปุ่นเล็กน้อย และเล็กกว่าสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เกาะที่มีขนาดเล็กกว่าที่มีผู้คนอาศัยอยู่และมีความสำคัญประกอบไปด้วยเกาะสจวร์ต เกาะ Waiheke, เกาะเกรตแบร์ริเออร์ และเกาะแชทัม ประเทศนิวซีแลนด์มีแหล่งน้ำครอบคลุมทั่วประเทศและเป็นประเทศอันดับ 7 ของโลกที่มีพื้นที่ทางน้ำซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจครอบคลุมถึง 4 ล้านตารางกิโลเมตร ( 1.5 ล้านตารางไมล์ ) มากกว่าขนาดพื้นที่ดินถึง 15 เท่า
จุดที่สูงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์คือภูเขา Aoraki/Mount Cook ซึ่งมีความสูง 3754 เมตร ( 12,320 ฟุต ) มีจุดที่สูงที่สุด 18 แห่งที่มีความสูงเกิน 3,000 เมตร ( 10,000 ฟุต ) อยู่ทางใต้ของเกาะ
ทางเหนือของเกาะมีพื้นที่ที่เป็นภูเขาน้อยกว่าทางใต้ แต่เป็นที่รู้กันว่าภูเขาเหล่านั้นเป็นภูเขาไฟ ภูเขาที่สูงที่สุดของเกาะทางเหนือคือภูเขา Mount Ruapehu ( 2,797 เมตร / 9,177 ฟุต ) และเป็นภูเขาไฟที่ยังประทุอยู่ มีพื้นที่หลายแห่งที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ
สภาพภูมิอากาศ
[แก้]ประเทศนิวซีแลนด์มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น เนื่องจากรับอิทธิพลของลมประจำ คือ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ที่นำความชื้นจากทะเลเข้ามาทำให้ฝนตกอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะใต้ ซึ่งเป็นด้านที่รับลม
ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ธันวาคม[9] - กุมภาพันธ์ ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน เนื่องจากตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก - ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก - กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก อากาศแตกต่างกันดังนี้ - เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ - เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก - เกาะใต้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่ว และมีมากที่ Mt. Cook
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]การตั้งถิ่นฐาน
[แก้]นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ ทวิน เจตด้า เปตโต้(Twin Jadda Phetto) ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวตางี ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอปสัน
การปกครองตนเอง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเมืองการปกครอง
[แก้]นิวซีแลนด์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐคือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และมี Governor General เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนิวซีแลนด์
รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นกฎหมายที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครองแต่จะมีกฎหมายอื่น ๆ หลายฉบับมาประกอบกันเช่น Constitution ACT 1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วยพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติ
บริหาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นิติบัญญัติ
[แก้]ปัจจุบันการปกครองของรัฐบาลนิวซีแลนด์ปกครองภายใต้ระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ระบบเวสต์มินสเตอร์) ซึ่งเป็นระบบที่ให้อำนาจตุลาการส่วนหนึ่งของฝ่ายตุลาการแก่ฝ่ายปกครอง และใช้ระบบ MMP (Mixed Member Proportion) ซึ่งเป็นระบบที่ให้สิทธิผู้เข้าเลือกตั้งเลือกพรรคและผู้นำของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งรัฐบาล ซึ่งในอดีตเคยมีการใช้ระบบที่เรียกว่า FPP (First Past-the-Post) หรือระบบที่ผู้มาใช้สิทธิมีเพียง 1 เสียงในการเลือกตั้งรัฐบาลแต่ละครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับระบบปัจจุบันในประเทศไทย ระบบนี้ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2537 และมีที่นั่งในรัฐสภาจำนวน 120 ที่นั่ง (+1 ประธานสภา) ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศนิวซีแลนด์คือ เจซินดา อาร์เดิร์น หัวหน้าพรรคเลเบอร์
พรรคการเมืองปัจจุบัน
[แก้]Green Party, Labour Party - พรรคฝ่ายค้าน, Mana Party, Māori Party - พรรคเมารีที่สมาชิกจะต้องเป็นลูกหลานของชนเผ่าเมารีเท่านั้น, National Party - พรรครัฐบาล, New Zealand First และ United Future
ตุลาการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เมื่อเริ่มตั้งถิ่นฐานนิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ (provinces) ซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลางเนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับรัฐ จังหวัด หรือเขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับจังหวัดยังคงมีอยู่และมีการแข่งขันกันพัฒนาทั้งในทั้งด้านกีฬาและวัฒราตกแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมือง โบโร (borough) และเคาน์ตี (county) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้จัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สภาภูมิภาค (regional councils) และ สภาดินแดน (territorial authorities)
ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปกครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และสภาดินแดน 74 แห่ง ที่ดูแลด้านสาธารณูปโภค การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาดินแดนมี 74 แห่ง แบ่งออกเป็นสภานคร (city council) 16 แห่ง สภาเขต (district council) 57 แห่ง และสภาหมู่เกาะแชทัม (Chatham Islands Council) สภาดินแดน 4 แห่ง (1 นครและ 3 เขต) และสภาหมู่เกาะแชทัมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authorities เขตของดินแดนไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางดินแดนมีการคร่อมเขตของสภาภูมิภาค
กองทัพ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจ
[แก้]นิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น
การท่องเที่ยว
[แก้]ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมักเป็นการเที่ยวชมธรรมชาติที่หลากหลาย แบ่งเป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะ
ประชากร
[แก้]เมืองใหญ่
[แก้]เชื้อชาติ
[แก้]มีประชากรอยู่จำนวน 4.693 ล้าน (2559) มีเชื้อชาติยุโรป 71.2%,เอเชีย 11.3%, เมารี 14.1%, ชนพื้นเมืองหมู่เกาะแปซิฟิก 7.6%, ตะวันออกกลางลาตินอเมริกา แอฟริกัน 1.1% อื่น ๆ 1.6% และที่ระบุไม่ได้ 5.4%
กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]รักบี้
[แก้]เป็นหนึ่งในกีฬาที่ชาวนิวซีแลนด์คลั่งไคล้มากที่สุด ออลแบล็ก (all black) เป็นทีมชาติรักบี้ของนิวซีแลนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก มีชื่อเสียงมากว่า 100 ปี หากวันไหนทีมออลแบล็กลงสนามแข่งขัน ชาวนิวซีแลนด์ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดต่างก็จะหยุดงานเพื่อรอชม นอกจากนี้ก่อนจะเริ่มการแข่งขันทุกครั้ง นักกีฬาในทีมจะเต้นแบบนักรบเมารีที่เรียกว่า ฮากา เพื่อข่มขวัญคู่แข่ง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Population clock". Statistics New Zealand. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021. The population estimate shown is automatically calculated daily at 00:00 UTC and is based on data obtained from the population clock on the date shown in the citation.
- ↑ "2018 Census population and dwelling counts". Statistics New Zealand. 23 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2020". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ "Household income and housing-cost statistics: Year ended June 2019". Statistics New Zealand. Table 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLSX)เมื่อ 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
- ↑ "Human Development Report 2020" (PDF). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
- ↑ https://www.premiumworldtour.com/content/14078/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-6-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
- ↑ New Zealand ดินแดนแห่งนก, "Mutant Planet" ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
- ↑ ม่อน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- New Zealand Government portal เก็บถาวร 2007-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ministry for Culture and Heritage – includes information on flag, anthems and coat of arms
- Statistics New Zealand เก็บถาวร 2011-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การค้าระหว่างประเทศ
- ด้านการท่องเที่ยว
- อื่นๆ
- New Zealand entry at The World Factbook
- ประเทศนิวซีแลนด์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- New Zealand from the BBC News
- Te Ara, The Encyclopedia of New Zealand
- NZHistory.net.nz New Zealand history website
- New Zealand OECD
- New Zealand, directory from UCB Libraries GovPubs
- New Zealand at Encyclopædia Britannica
- New Zealand weather
- Key Development Forecasts for New Zealand from International Futures
- Wikimedia Atlas of New Zealand