ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโควิด-19
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโควิด-19 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงทั่วโลกซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเศรษฐกิจตกต่ำในหลายประเทศ นับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกร้ายแรงที่สุดนับแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930[1] วิกฤตดังกล่าวเริ่มต้นจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อรับมือโควิด-19 และมาตรการป้องกันอื่น ๆ ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 การตั้งต้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวประจวบกับเหตุตลาดหุ้นตกปี 2020 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์และกินเวลาจนถึงต้นเดือนเมษายน 2020[2][3][4] เหตุตลาดหุ้นตกดังกล่าวกินเวลาสั้น ๆ และดัชนีตลาดหลายแห่งทั่วโลกฟื้นตัวหรือกระทั่งทำสถิติสูงสุดใหม่เมื่อถึงปลายปี 2020 เมื่อเดือนกันยายน 2020 ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าทุกประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำ ส่วนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทุกประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย[5][6][7] แบบจำลองของธนาคารโลกเสนอว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ในบางภูมิภาคอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2025 หรือกว่านั้น[8][9][10][11]
การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้ประชากรโลกถึงกึ่งหนึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งให้กักตัวที่บ้านเพื่อหยุดการระบาดของโควิด-19[12] ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก[13] ซึ่งเกิดไล่เลี่ยกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2019 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์และกิจกรรมผู้บริโภคทั่วโลกชะงัก[14][15]
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ยังก่อให้เกิดภาวะการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วในหลายประเทศ และสหรัฐไม่สามารถจัดทำระบบคอมพิวเตอร์ประกันการว่างงานที่รัฐสนับสนุน และดำเนินการเพื่อให้ทันกับคำร้องต่าง ๆ[16][17] สหประชาชาติทำนายในเดือนเมษายน 2020 ว่าภาวะการว่างงานทั่วโลกจะลบชั่วโมงทำงานร้อยละ 6.7 ทั่วโลกในไตรมาสสองของปี 2020 หรือเทียบเท่ากับแรงงานเต็มเวลา 195 ล้านคน[18] ในบางประเทศคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบมากกว่านั้นอาจมีอัตราว่างงานสูงกว่านี้[19][20][21] ประเทศกำลังพัฒนายังได้รับผลกระทบจากการส่งเงินกลับประเทศลดลง ทำให้ทุพภิกขภัยจากโควิด-19 รุนแรงยิ่งขึ้น[22] ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ กอปรกับสงครามราคาน้ำมันรัสเซีย-ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2020 ทำให้ราคาน้ำมันลดลง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การโรงแรมและพลังงานพังทลาย และกิจกรรมผู้บริโภคลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อน[23][24][25]
เมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนายุติลง ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์พลังงานโลก ค.ศ. 2021 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความต้องการพลังงานที่แข็งแกร่งในเอเชีย[26][27][28]
การสนองทางการเงินของชาติต่าง ๆ
[แก้]หลายประเทศประกาศโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้านล่างนี้เป็นตารางสรุปโดยอาศัยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น)[29]
ประเทศ | การใช้จ่ายโดยตรง (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) | การใช้จ่ายโดยตรง (% GDP) | การประกันเงินกู้และการซื้อสินทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) | หมายเหตุ | แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|---|
ออสเตรเลีย | 139 | 9.7 | 125 | ||
ออสเตรีย | 43 | 9 | |||
อาเซอร์ไบจาน | 1.9 | 4.1 | |||
บาห์เรน | 1.49 | 4.2 | 9.8 | ||
เบลเยียม | 11.4 | 2.3 | 51.9 | ||
แคนาดา | 145 | 8.4 | 166 | ||
ชิลี | 11.75 | 4.7 | |||
จีน | 376.4 | 2.5 | 770.1 | ||
ไซปรัส | 1.000 | 4.3 | |||
เช็กเกีย | 4.36 | 2 | 39.7 | ||
เดนมาร์ก | 9.0 | 2.5 | อีก 2.5% คาดว่าจะมาจากระบบรักษาเสถียรภาพอัตโนมัติ | ||
อียิปต์ | 6.13 | 1.8 | |||
เอสโตเนีย | 2.2 | 7 | |||
สหภาพยุโรป | 605 | 4 | 870 | ไม่รวมการดำเนินการโดยรัฐส่วนแต่ละรัฐสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม: Next Generation EU | [30] |
ฝรั่งเศส | 129 | 5 | 300 | ||
เยอรมนี | 175 | 4.9 | 825 | รัฐต่าง ๆ ได้ประกาศการใช้จ่ายเพิ่มเติม | |
กรีซ | 27 | 14 | |||
ฮ่องกง | 36.69 | 10 | |||
อินเดีย | 267 | 9 | |||
อิหร่าน | 55 | 10+ | |||
ไอร์แลนด์ | 14.9 | 4 | |||
อิสราเอล | 26 | 7.2 | 14 | ||
อิตาลี | 90 | 3.1 | 448 | ||
ญี่ปุ่น | 1,073.30 | 21.1 | 14.68 | ||
คาซัคสถาน | 13 | 9 | |||
ลักเซมเบิร์ก | 3.5 | 4.9 | |||
มาเก๊า | 6.6 | 12.1 | |||
มาเลเซีย | 7.5 | 2.1 | 12 | ||
นิวซีแลนด์ | 40.9 | 21 | |||
นอร์เวย์ | 18.2 | 5.5 | |||
ปากีสถาน | 8.790 | 3.8 | ผู้บริหารระดับจังหวัดยังได้ประกาศมาตรการทางการคลัง | ||
เปรู | 18 | 8 | ประกาศรายจ่าย 12% จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด | ||
ฟิลิปปินส์ | 21.45 | 5.83 | [31] | ||
กาตาร์ | 20.6 | 13 | |||
รัสเซีย | 72.7 | 4.3 | รวมแผนฟื้นฟูทั้งหมดในปี ค.ศ. 2020–2021 | [32] | |
เซอร์เบีย | 3.35 | 6.5 | ความช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินประมาณ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด) | [33] | |
เกาหลีใต้ | 13.730 | 0.6 | 85.8100 | ||
สิงคโปร์ | 54.5 | 11 | |||
สวิตเซอร์แลนด์ | 73 | 10.4 | |||
ไทย | 483.13 | 9.6 | |||
ตุรกี | 17.6 | 2 | |||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 7.22 | 2 | |||
สหราชอาณาจักร | 357 | 10.6 | |||
สหรัฐอเมริกา | 2,900 | 14.5 | 4,000 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zumbrun, Josh (2020-05-10). "Coronavirus Slump Is Worst Since Great Depression. Will It Be as Painful?". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ Islam, Faisal (20 March 2020). "Coronavirus recession not yet a depression". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ Hawkins, John. "How will the coronavirus recession compare with the worst in Australia's history?". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ Stewart, Emily (21 March 2020). "The coronavirus recession is already here". Vox. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ "World Economic Outlook Update, June 2020: A Crisis Like No Other, An Uncertain Recovery". IMF (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "The Great Lockdown: Worst Economic Downturn Since the Great Depression". IMF Blog. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ "COVID-19 to Plunge Global Economy into Worst Recession since World War II". World Bank (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "The Great Recession Was Bad. The 'Great Lockdown' Is Worse". BloombergQuint. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "IMF Says 'Great Lockdown' Worst Recession Since Depression, Far Worse Than Last Crisis". nysscpa.org. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Winck, Ben (14 April 2020). "IMF economic outlook: 'Great Lockdown' will be worst recession in century". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ Larry Elliott Economics editor. "'Great Lockdown' to rival Great Depression with 3% hit to global economy, says IMF | Business". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ McFall-Johnsen, Juliana Kaplan, Lauren Frias, Morgan (14 March 2020). "A third of the global population is on coronavirus lockdown – here's our constantly updated list of countries and restrictions". Business Insider Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2020 : The Great Lockdown". IMF. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Elliott, Larry (8 October 2019). "Nations must unite to halt global economic slowdown, says new IMF head". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Cox, Jeff (21 November 2019). "The worst of the global economic slowdown may be in the past, Goldman says". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Aratani, Lauren (15 April 2020). "'Designed for us to fail': Floridians upset as unemployment system melts down". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "The coronavirus has destroyed the job market. See which states have been hit the hardest". NBC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "ILO: COVID-19 causes devastating losses in working hours and employment". 7 April 2020. สืบค้นเมื่อ 19 April 2020.
- ↑ Partington, Richard (14 April 2020). "UK economy could shrink by 35% with 2m job losses, warns OBR". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Sullivan, Kath (13 April 2020). "Unemployment forecast to soar to highest rate in almost 30 years". ABC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Amaro, Silvia (15 April 2020). "Spain's jobless rate is set to surge much more than in countries like Italy". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Picheta, Rob. "Coronavirus pandemic will cause global famines of 'biblical proportions,' UN warns". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ Yergin, Daniel (7 April 2020). "The Oil Collapse". Foreign Affairs : An American Quarterly Review. ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ Dan, Avi. "Consumer Attitudes And Behavior Will Change in the Recession, And Persist When It Ends". Forbes. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "The $1.5 Trillion Global Tourism Industry Faces $450 Billion Collapse in Revenues, Based on Optimistic Assumptions". Wolf Street. 30 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "Energy crunch: How high will oil prices climb?". Al-Jazeera. 27 September 2021.
- ↑ "Covid is at the center of world's energy crunch, but a cascade of problems is fueling it". NBC News. 8 October 2021.
- ↑ "Energy Crisis 2021: How Bad Is It, And How Long Will It Last?". Forbes. 19 October 2021.
- ↑ "Policy Responses to COVID19". IMF. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ Special European Council, 17-21 July 2020 - Main results Retrieved 15 November 2020.
- ↑ de Vera, Ben (26 September 2020). "Bayanihan 2 raises COVID-19 response fund to $21.45B". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "Putin approves Cabinet's plan as basis for economic recovery". สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
- ↑ "EUR 5.1 billion to support the Serbian economy". 1 April 2020.