ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1878)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาเบอร์ลิน
สนธิสัญญาระหว่างบริเตนใหญ่ ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี รัสเซียและตุรกี สำหรับการชำระสะสางกิจการตะวันออก
ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้หลังการประชุมใหญ่เบอร์ลิน
บริบทการประชุมใหญ่เบอร์ลินหลังสงครามรัสเซีย–ตุรกี (1877–78)
วันลงนาม13 กรกฎาคม ค.ศ. 1878 (1878-07-13)[1][2]
ที่ลงนามเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน
ภาคี

สนธิสัญญาเบอร์ลิน เป็นบัญญัติสุดท้ายแห่งการประชุมใหญ่เบอร์ลิน (13 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1878) ซึ่งสหราชอาณาจักร ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซียและจักรวรรดิออตโตมันภายใต้สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ภาระสำคัญที่สุดของการประชุมใหญ่นี้คือ ตัดสินชะตาของราชรัฐบัลแกเรียซึ่งสถาปนาขึ้นในสนธิสัญญาซันสเตฟาโน[3] แม้บัลแกเรียเองจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมเพราะการยืนกรานของรัสเซีย[3][4] ในขณะนั้น บัลแกเรียยังไม่มีอยู่บนแผนที่โลก จึงไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับชาวบัลแกเรีย การกีดกันนี้เคยมีขึ้นแล้วในการประชุมมหาอำนาจคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งจัดขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อน โดยบัลแกเรียไม่ได้เข้าร่วมเช่นกัน

สนธิสัญญาดังกล่าวรับรองเอกราชของราชรัฐเอกราชโดยพฤตินัยโรมาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ร่วมกับอัตตาณัติของบัลแกเรีย แม้บัลแกเรียจะทำหน้าที่เป็นเอกราชโดยพฤตินัยและถูกแบ่งเป็นสามส่วน คือ ราชรัฐบัลแกเรีย จังหวัดปกครองตนเองรูเมเลียตะวันออก และมาซิโดเนีย ซึ่งคืนให้แก่ออตโตมัน[5] ฉะนั้นจึงทำลายแผนการของรัสเซียสำหรับ "เกรทเทอร์บัลแกเรีย" เอกราชที่นิยมรัสเซีย สนธิสัญญาซันสเตฟาโนได้สร้างรัฐบัลแกเรีย ซึ่งเป็นสิ่งที่บริเตนใหญ่และออสเตรีย-ฮังการีเกรงมากที่สุด[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hertslet, Edward (1891), "Treaty between Great-Britain, Austria-Hungary, France, Germany, Italy, Russia, and Turkey, for the Settlement of Affairs in the East, Signed at Berlin, 13th July 1878 (Translation)", The Map of Europe by Treaty; which have taken place since the general peace of 1814. With numerous maps and notes, vol. IV (1875–1891) (First ed.), London: Her Majesty's Stationery Office, pp. 2759–2798, สืบค้นเมื่อ 8 February 2019 – โดยทาง Internet Archive
  2. Phillips 1911.
  3. 3.0 3.1 Krasner, Stephen D. (1999). Sovereignty: Organized Hypocrisy. Princeton University Press. p. 165. ISBN 0-691-00711-X.
  4.  Bourchier, James David (1911). "Bulgaria/History" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 04 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 779–784.
  5. Jelavich, Barbara (2004). Russia and the Formation of the Romanian National State, 1821–1878. Cambridge University Press. p. 286. ISBN 0-521-52251-X.
  6. Crampton, R. J. (2005). A Concise History of Bulgaria. Cambridge University Press. p. 84. ISBN 0-521-85085-1.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • "Treaty between Great Britain, Germany, Austria, France, Italy, Russia, and Turkey for the Settlement of Affairs in the East: Signed at Berlin, July 13, 1878 (Translation)". The American Journal of International Law. II (4, Supplement, Official Documents): 401–424. October 1908. doi:10.2307/2212670. JSTOR 2212670. S2CID 246011615.