อักษรกันนาดา–เตลูกู
อักษรกันนาดา-เตลูกู อักษรเตลูกู-กันนาดา | |
---|---|
จารึกแผ่นทองแดงใน อักษรกันนาดา–เตลูกู | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 7 -14[1][2] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | กันนาดา เตลูกู ตูลู กงกัณ สันสกฤต |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | อักษรไซนายดั้งเดิม[a]
|
ระบบลูก | อักษรกันนาดา, อักษรเตลูกู |
ระบบพี่น้อง | ปยู |
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล | |
อักษรกันนาดา–เตลูกู (หรือ อักษรเตลูกู–กันนาดา) เป็นระบบการเขียนที่ใช้ในอินเดียใต้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างบางส่วน อักษรที่ใช้ในภาษากันนาดาและภาษาเตลูกูยังคงคล้ายกันและเข้าใจร่วมกันได้สูง
ประวัติ
[แก้]ตระกูลภาษาดราวิเดียนมีภาษาประมาณ 73 ภาษา รวมถึงภาษาทมิฬ, กันนาดา, เตลูกู และมลยาฬัม ราชวงศ์สาตวาหนะนำอักษรพราหมีเข้ามายังภูมิภาคที่ปัจจุบันคือบริเวณที่พุดภาษาเตลูกูและกันนาดา อักษร Bhattiprolu ที่ราชวงศ์สาตวาหนะสร้างขึ้น ก่อให้เกิดอักษรกทัมพะ[5][6][7] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 7 ราชวงศ์จาลุกยะตอนต้นและราชวงศ์กทัมพะตอนต้นใช้อักษรกันนาดารูปแบบแรกลงในจารึก ซึ่งมีชื่อว่าอักษรกทัมพะ[8] อักษรกทัมพะพัฒนาเป็นอักษรกันนาดา เมื่อจักรวรรดิจาลุกยะขยายไปถึงพื้นที่ที่พูดภาษาเตลูกู ราชวงศ์นี้จึงตั้งสาขาหนึ่งที่มีชื่อว่าราชวงศ์จาลุกยะตะวันออก ซึ่งภายหลังนำอักษรกันนาดามาใช้ในภาษาเตลูกู ก่อให้เกิดอักษรกันนาดา-เตลูกูที่กินระยะเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 11[1]
ในช่วง ค.ศ. 1100 ถึง 1400 อักษรกันนาดาและอักษรเตลูกูเริ่มแยกออกจากอักษรกันนาดา-เตลูกู ทั้งราชวงศ์สาตวาหนะและราชวงศ์จาลุกยะส่งอิทธิพลต่ออักษรกันนาดาและเตลูกู[9]
เปรียบเทียบ
[แก้]ตารางข้างล่างแสดงความแตกต่างระหว่างอักษรกันนาดาและอักษรเตลูกูสมัยใหม่
พยัญชนะ
[แก้]กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล | กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล | กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล | กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล | กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ಕ/క (ka) | /ka/ | ಖ/ఖ (kha) | /kʰa/ | ಗ/గ (ga) | /ɡa/ | ಘ/ఘ (gha) | /ɡʱa/ | ಙ/ఙ (ṅa) | /ŋa/ |
ಚ/చ (ca) | /tʃa/ | ಛ/ఛ (cha) | /tʃʰa/ | ಜ/జ (ja) | /dʒa/ | ಝ/ఝ (jha) | /dʒʱa/ | ಞ/ఞ (ña) | /ɲa/ |
ಟ/ట (ṭa) | /ʈa/ | ಠ/ఠ (ṭha) | /ʈʰa/ | ಡ/డ (ḍa) | /ɖa/ | ಢ/ఢ (ḍha) | /ɖʱa/ | ಣ/ణ (ṇa) | /ɳa/ |
ತ/త (ta) | /t̪a/ | ಥ/థ (tha) | /t̪ʰa/ | ದ/ద (da) | /d̪a/ | ಧ/ధ (dha) | /d̪ʱa/ | ನ/న (na) | /n̪a/ |
ಪ/ప (pa) | /pa/ | ಫ/ఫ (pha) | /pʰa/ | ಬ/బ (ba) | /ba/ | ಭ/భ (bha) | /bʱa/ | ಮ/మ (ma) | /ma/ |
ಯ/య (ya) | /ja/ | ರ/ర (ra) | /ɾa/ | ಲ/ల (la) | /la/ | ವ/వ (va) | /ʋa/ | ಳ/ళ (ḷa) | /ɭa/ |
ಶ/శ (śa) | /ʃa/ | ಷ/ష (ṣa) | /ʂa/ | ಸ/స (sa) | /sa/ | ಹ/హ (ha) | /ha/ | ಱ/ఱ (ṟa) | /ra/ |
นอกจากนี้ยังมีอักษร ೞ/ఴ (ḻa) ที่เคยใช้แทนเสียง /ɻa/ แต่ปัจจุบันไม่ใช้งาน
สระ
[แก้]สระลอย
[แก้]กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล | กันนาดา/เตลูกู (ISO) | สัทอักษรสากล |
---|---|---|---|
ಅ/అ (a) | /a/ | ಆ/ఆ (ā) | /aː/ |
ಇ/ఇ (i) | /i/ | ಈ/ఈ (ī) | /iː/ |
ಉ/ఉ (u) | /u/ | ಊ/ఊ (ū) | /uː/ |
ಋ/ఋ (r̥) | /ɾu/ | ೠ/ౠ (r̥̄) | /ɾuː/ |
ಌ/ఌ (l̥) | /lu/ | ೡ/ౡ (l̥̄) | /lu:/ |
ಎ/ఎ (e) | /e/ | ಏ/ఏ (ē) | /eː/ |
ಒ/ఒ (o) | /o/ | ಓ/ఓ (ō) | /oː/ |
ಐ/ఐ (ai) | /aj/ | ಔ/ఔ (au) | /aw/ |
ตัวเลข
[แก้]หน่วย | 0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กันนาดา | ೦ | ೧ | ೨ | ೩ | ೪ | ೫ | ೬ | ೭ | ೮ | ೯ |
เตลูกู | ౦ | ౧ | ౨ | ౩ | ౪ | ౫ | ౬ | ౭ | ౮ | ౯ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Diringer, David (1948). Alphabet a key to the history of mankind. p. 381.
- ↑ Salomon, Richard (1998). Indian Epigraphy. p. 41.
- ↑ Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019),p.29
- ↑ Salomon 1999, p. 35
- ↑ The Blackwell Encyclopedia of Writing Systems by Florian Coulmas, p. 228; Salomon (1998), p. 40.
- ↑ Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019),p.29
- ↑ Salomon 1999, p. 35
- ↑ "Epigraphical Studies in India - Sanskrit and Dravidian, Scripts used in India, Scripts Abroad". สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
- ↑ "Evolution of Telugu Character Graphs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2013-07-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Evolution of Telugu Character Graphs เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Salankayana Telugu-Kannada script
- Kadamba -> Old-Kannada -> Kannada and Telugu script เก็บถาวร 2020-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Copper plates in Telugu-Kannada script
- Brahmi -> Kadamba -> Old Kannada -> Telugu-Kannada scripts
จารึกในอักษรกันนาดา-เตลูกู
[แก้]- Kakatiya period Telugu-Kannada inscription by poet Nrusimha Rushi dating between 1295 and 1325 found on hillocks near Urs on the outskirts of Warangal.
- 13th-century Kakatiya era Bayyaram stone inscription found in Bayyaram mandal Andhra Pradesh.
วิวัฒนาการและพัฒนาการของอักษรกันนาดา-เตลูกู
[แก้]- Development of Kannada-Telugu script เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Evolution of Telugu-kannada script เก็บถาวร 2022-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kalyana Chalukya Kannada script
- Kannada Script Evolution - Brahmi to Mysore Wadayar Kannada
- Telugu Script Evolution - Brahmi to Vijayanagara script เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน