ข้ามไปเนื้อหา

ชุดตัวอักษรอูรดู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรอูรดู)
ชุดตัวอักษรอูรดู
ตัวอย่างชุดอักษรอูรดู: อูรดู
ชนิด
อักษรไร้สระ
ภาษาพูดอูรดู, บัลติ,[ต้องการอ้างอิง], ปัญจาบ, Shina, ใช้ไม่บ่อยในภาษาบูรุศซัสกี,[1] อื่น ๆ
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ยูนิโคด
ช่วงยูนิโคด
U+0600 ถึง U+06FF

U+0750 ถึง U+077F
U+FB50 ถึง U+FDFF

U+FE70 ถึง U+FEFF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

ชุดตัวอักษรอูรดู (อูรดู: اردو حروفِ تہجی, อักษรโรมัน: urdū harūf-e-tahajjī) เป็นอักษรสำหรับภาษาอูรดูที่เขียนจากขวาไปซ้าย ซึ่งปรับปรุงมาจากอักษรเปอร์เซีย ที่พัฒนามาจากอักษรอาหรับ ชุดตัวอักษรอูรดูมีพยัญชนะถึง 39[2] หรือ 40 ตัว[3] โดยนิยมเขียนแบบแนสแทอ์ลีก ในขณะที่ภาษาอาหรับมักเขียนในแบบนัสค์

โดยทั่วไป การถอดอักษรอูรดูมาเป็นอักษรโรมัน (มีชื่อว่าโรมันอูรดู) จะขาดหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ที่เขียนด้วยอักษรละติน สถาบันภาษาแห่งชาติแห่งปากีสถานได้พัฒนาระบบสำหรับเสียงที่ไม่พบในภาษาอังกฤษ แต่จะเหมาะสมกับผู้ที่รู้ภาษาอูรดู ภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซียมากกว่า

ประวัติ

[แก้]

ภาษาอูรดูได้แยกต่างหากออกจาก ภาษาฮินดูสตานีหลังการแบ่งแยกอินเดีย ความแตกต่างที่สำคัญคือมีอิทธิพลของภาษาเปอร์เซียที่เป็นภาษาราชการในสมัยราชวงศ์โมกุลมาก และเป็นภาษากลางก่อนการเข้ามาของอังกฤษ อักษรมาตรฐานสำหรับภาษาอูรดูดัดแปลงมาจากอักษรเปอร์เซียเพื่อให้เหมาะสมกับการออกเสียงของภาษาฮินดูสตานี

ก่อนที่จะประดิษฐ์ พิมพ์ดีดภาษาอูรดู ใน พ.ศ. 2454 หนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูจะตีพิมพ์โดยใช้ตัวอักษรที่เรียกกาติบหรือคุช-นาเวส หนังสือพิมพ์ Daily Jang ในปากีสถานเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูฉบับแรกที่ใช้การประมวลผลคำด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยการเขียนแบบนัสตาลิก ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ วารสารที่ใช้อักษรอูรดูจะใช้คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

พยัญชนะ

[แก้]

ชื่อและหน่วยเสียงอักษร

[แก้]
อักษร [A] ชื่อ [4] สัทอักษรสากล ถอดเป็นอักษรโรมัน เสียง: รายละเอียดหรือเสียงในภาษาอังกฤษ ยูนิโคด อื่น ๆ
อูรดู โรมันอูรดู ALA-LC
[5]
แบบฮันเตอร์[6] [B] [8] [C]
ا الف alif /ɑː/, /ʔ/, /∅/ ā, – ā, – a as in bath (ภาษาอังกฤษแบบบริติช, ออกเสียงตามสำเนียง) [D] U+0627 1 1 1
ب بے /b/ b b b as in Ball. U+0628 2 2 2
پ پے /p/ p p p as in Pigeon. U+067E 3 3 3
ت تے /t/ t t Dental T (ใช้ในภาษาสเปนและดัตช์/เฟลมิช) U+062A 4 4 4
ٹ ٹے ṭē /ʈ/ t T as in karta (สวีเดน) U+0679 5 5 5
ث ثے s̱ē /s/ s c as in cinema. U+062B 6 6 6
ج جيم jīm /d͡ʒ/ j j j in Jug. U+062C 7 7 7
چ چے /t͡ʃ/ c ch ch in Chimney. U+0686 8 8 8
ح بڑی حے baṛī ḥē /ɦ/ h h as in Happy. U+062D 9 9 9
ہٹی حے hutti ḥē
خ خے k͟hē /x/ k͟h kh ไม่มีรูปภาษาอังกฤษ คล้ายกับ guttural kh ใน Khundak U+062E 10 10 10
د دال dāl /d/ d d Dental D (ใช้ในภาษาสเปนและดัตช์/เฟลมิช) U+062F 11 11 11
ڈ ڈال ḍāl /ɖ/ d D as in gårdag (สวีเดน) U+0688 12 12 12
ذ ذال ẕāl /z/ z Z as in zebra. U+0630 13 13 13
ر رے /r/ r r r as in Razor. U+0631 14 14 14
ڑ ڑے ṛē /ɽ/
[E]
r ไม่มีรูปภาษาอังกฤษ คล้ายกับ hard dh ใน Raigadh U+0691 15 15 15
ز زے /z/ z z z as in Zebra. U+0632 16 16 16
ژ ژے zhē /ʒ/
[F]
zh zh si as in version. U+0698 17 17 17
س سین sīn /s/ s s s as in sea. U+0633 18 18 18
ش شین shīn /ʃ/ sh sh sh as in shine. U+0634 19 19 19
ص صاد ṣwād /s/ s s as in swear. U+0635 20 20 20
ض ضاد ẓwād /z/ z z as in gazette. U+0636 21 21 21
ط طوے t̤o'ē /t/ t ไม่มีรูปภาษาอังกฤษ คล้ายกับ ta ใน Talia. U+0637 22 22 22
ظ ظوے z̤o'ē /z/ z Hard z in zoo. U+0638 23 23 23
ع عین ʻain /ɑː/, /oː/, /eː/,
/ʔ/, /ʕ/, /∅/
ʻ ʻ
[ต้องการอ้างอิง]
ไม่มีรูปภาษาอังกฤษ คล้ายกับ harsh guttural a ใน apple. U+0639 24 24 24
غ غین g͟hain /ɣ/ g͟h gh ไม่มีรูปภาษาอังกฤษ คล้ายกับ guttural gh ใน Ghalib. U+063A 25 25 25
ف فے /f/ f f f as in flower. U+0641 26 26 26
ق قاف qāf /q/ q q ไม่ใช้ในภาษาอังกฤษ ในภาษาอาหรับเป็นอักษรแรกของประเทศกาตาร์และอักษรสุดท้ายของประเทศอิรัก บางครั้งมีเสียงเหมือนกับเสียงของกา U+0642 27 27 27
ک کاف kāf /k/ k k k as in Kite. U+06A9 28 28 28
گ گاف gāf /ɡ/ g g g as in grass. U+06AF 29 29 29
ل لام lām /l/ l l l as in lemon. U+0644 30 30 30
م میم mīm /m/ m m m as in Mike. U+0645 31 31 31
ن نون nūn /n/, /ɲ/,
/ɳ/, /ŋ/
n n n as in noon. U+0646 32 32 32
ں
٘
نون غنّہ nūn g͟hunnā / ◌̃ /
[E]
n สระนาสิก ไม่มีในภาษาอังกฤษ แต่พบในภาษาฝรั่งเศส [ต้องการตัวอย่าง] U+06BA
U+0658
[G]
[H] 32a 33
و واؤ wā'o /ʋ /, /uː/, /ʊ /,
/o ː /, /ɔː /
v,
ū, u, o, au
w,
ū, u, o, au
w as in walet. U+0648 33 33 34
ہ گول ہے gōl hē /ɦ/, /ɑː/, /eː/ h, ā, e h, ā, e h as in hot. U+06C1
[I]
34 34 35
چھوٹی ہے choṭī hē 34a
ھ دو چشمی ہے do-cashmī hē /ʰ/ หรือ /ʱ/
[E]
h h h as in head U+06BE 35 34b 36
ی چھوٹی یے choṭī yē /j/, /iː/, /ɑː/ y, ī, á y, ī, á y as in yellow or ee as in feel. U+06CC 36 35 38
ے بڑی یے baṛī yē /ɛː/, /eː/
[E]
ai, e ai, e a as in cat or ay as in day. U+06D2 37 35b 39
ئ ہمزہ hamzah /ʔ/ หรือ /∅/
[J]
', –, yi ', –, yi Ya (e.g. yak) สำหรับเสียงแรก. A-i (Sloppy A sound) สำหรับเสียงที่สอง U+0626 35a 37
[K]
ء U+0621 0
หมายเหตุ:
  1. รูปนี้แสดงเป็นรูปเดี่ยว สำหรับรูปเชื่อม ดูที่รูปอักษรแนสแทอ์ลีก
  2. ลำดับพจนานุกรม[7]
  3. [ต้องการอ้างอิง]
  4. อักษรนี้ในบริเวณด้านหน้าของคำแสดงเป็นสระ โดยการนำเครื่องหมายเสริมสัทอักษรตั้งบนตัวมัน เช่น اُردو "Urdu" แต่เครื่องหมายนั้นมักถูกละเว้น اردو เหมือนเครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระสั้นอื่น ๆ
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ไม่มีศัพท์อูรดูใดที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ں, ھ, ڑ หรือ ے[ต้องการอ้างอิง]
  6. โดยหลักใช้สำหรับคำยืมภาษาเปอร์เซีย
  7. อักษร U+06BA ใช้เฉพาะบริเวณท้ายคำ ถ้ามันอยู่ตรงกลาง มันจะกลายเป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร U+0658 ซึ่งมักถูกละเว้น (see below for further information on diacritic omission in Urdu).
  8. ไม่ปรากฏในพจนานุกรมเพราะไม่มีคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะนี้
  9. บางครั้ง choṭī hē มีชื่อเรียกเป็น gōl hey แต่ choṭī hē สามารถกล่าวถึงรูปภาษาอาหรับ/เปอร์เซีย แต่ภาษาเปอร์เซียและอาหรับมักใช้รูป U+0647 ในขณะที่อูรดูใช้รูป U+06C1 สำหรับ gōl hey[8] ดูเพิ่มที่: อูรดูในยูนิโคด
  10. Hamzah: ในภาษาอูรดู ฮัมซะฮ์เป็นอักษรเงียบในทุกรูปแบบ เว้นแต่จะใช้เป็น hamzah-e-izafat เงื่อนไขในการใช้ hamzah ในภาษาอูรดูคือกำหนดกลุ่มสระ
  11. [ต้องการอ้างอิง]

สระ

[แก้]

สระในภาษาอูรดูจะแสดงด้วยพยัญชนะ แม้ว่าจะทำให้สับสนได้ แต่บริบทจะช่วยให้เข้าใจเสียงที่ถูกต้องได้

ตารางสระ

[แก้]
อักษรโรมัน ออกเสียง รูปท้าย รูปกลาง รูปต้น
a /ə/
ā /aː/
i /ɪ/
ī /iː/
u /ʊ/
ū /uː/
e /eː/
ai /ɛ/
o /oː/
au /ɔ/

สระเสียงสั้น

[แก้]

สระเสียงสั้น (อะ "a", อิ "i", อุ"u") แสดงด้วยเครื่องหมายบนและล่างตัวอักษร

Vowel Name Transcription IPA
بَ zabar ba /ə/
بِ zer bi /ɪ/
بُ pesh bu /ʊ/

อลิฟ

[แก้]

อลิฟ (ا) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรอุรดู และใช้เป็นสระ ในตำแหน่งต้นคำ อลิฟ ใช้แทนทั้งสระเสียงสั้น เช่น اب อับ ab, اسم อิสมism, اردو อุรดูurdū แต่ถ้า อลิฟ (ا) ตามด้วย wā'o (و) หรือ ye (ی) จะแสดงสระเสียงยาว ถ้า wā'o (و) หรือ ye (ی) ตัวเดียวอยู่ที่ตำแหน่งเริ่มต้นจะเป็นพยัญชนะ

อลิฟมีหลายรูปแบบ เรียกalif madd (آ). ใช้แทนสระเสียงยาว อา "ā" ที่ต้นคำ เช่น آپ อาบ āp, آدمی อาดมิ ādmi. ตอนกลางหรือท้ายคำ สระอาแทนด้วย อลิฟ (ا), เช่น بات บาต bāt, آرام อาราม ārām

วาว

[แก้]

Wā'o ใช้แสดงสระ อู "ū", โอ "o" และ ออ "au" ([uː], [oː], และ [ɔ]), และใช้แทนเสียง [ʋ].

เย

[แก้]

เยมีสองรูป : choṭī ye และ baṛi ye.

Choṭī ye (ی) ใช้เหมือนในภาษาเปอร์เซีย ใช้แทนสระเสียงยาว อี "ī" และพยัญชนะ "y".

Baṛī ye (ے) ใช้แทนสระ เอ "e" และ แอ "ai" (/eː/ และ /æː/). Baṛī ye ใช้เขียนเมื่ออยู่ท้ายคำ

การใช้อักษรพิเศษ

[แก้]

เสียงรีโทรเฟล็กซ์

[แก้]

พยัญชนะรีโทรเฟล็กซ์(เช่นเสียงวรรค ฏะ ในภาษาบาลี) ไม่พบในอักษรเปอร์เซีย และสร้างขึ้นฉพาะภาษาอูรดู โดยเขียน ط (to'e) เพนือพยัญชนะที่เกิดจากฟัน (dental consonant หรือวรรค ตะ ในภาษาบาลี)

อักษร ชื่อ IPA
ٹ ṭe [ʈ]
ڈ ḍāl [ɖ]
ڑ aṛ [ɽ]

ทวิอักษร

[แก้]
ทวิอักษรของพยัญชนะเสียงธนิตเป็นไปตามนี้
ลำดับ ทวิอักษร[5] ทับศัพท์[5] สัทอักษรสากล ตัวอย่าง
1 بھ bh [bʱ] بھاری
2 پھ ph [pʰ] پھول
3 تھ th [tʰ] تھم
4 ٹھ ṭh [ʈʰ] ٹھنڈا
5 جھ jh [d͡ʒʱ] جھاڑی
6 چھ ch [t͡ʃʰ] چھتری
7 دھ dh [dʱ] دھوبی
8 ڈھ ḍh [ɖʱ] ڈھول
9 رھ rh [rʱ] تیرھواں
10 ڑھ ṛh [ɽʱ] اڑھائی
11 کھ kh [kʰ] کھانسی
12 گھ gh [ɡʱ] گھوڑا
13 لھ lh [lʱ] دولھا (อีกรูปของ دُلہا)
14 مھ mh [mʱ] تمھیں (อีกรูปของ تمہیں)
15 نھ nh [nʱ] ننھا (อาจโต้แย้งว่าเป็นกลุ่มพยัญชนะ)
16 وھ wh [ʋʱ] وھاب (อาจโต้แย้งว่าเป็นกลุ่มพยัญชนะ)
17 یھ yh [jʱ] [ต้องการตัวอย่าง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bashir, Elena; Hussain, Sarmad; Anderson, Deborah (5 May 2006). "N3117: Proposal to add characters needed for Khowar, Torwali, and Burushaski" (PDF). ISO/IEC JTC1/SC2/WG2.
  2. Project Fluency (7 October 2016). Urdu: The Complete Urdu Learning Course for Beginners: Start Speaking Basic Urdu Immediately (Kindle ed.). p. Kindle Locations 66–67. ISBN 978-1539047803.
  3. "Urdu". Omniglot.
  4. Delacy 2003, pp. XV–XVI.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Urdu romanization" (PDF). The Library of Congress.
  6. Geographical Names Romanization in Pakistan. UNGEGN, 18th Session. Geneva, 12–23 August 1996. Working Papers No. 85 and No. 85 Add. 1.
  7. Bhatia, Tej K.; Khoul, Ashok; Koul, Ashok (2015). Colloquial Urdu: The Complete Course for Beginners (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 41–42. ISBN 978-1-317-30471-5. สืบค้นเมื่อ 30 June 2020.
  8. 8.0 8.1 "Urdu Alphabet". www.user.uni-hannover.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "user.uni-hannover" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
อักษรอาหรับ
ه
ประวัติอักษรอาหรับ
เครื่องหมายการออกเสียง
ฟัตฮะฮ์ · กัสเราะฮ์ · ء ·ฎ็อมมะฮ์
เลขอาหรับ