ข้ามไปเนื้อหา

อาบดูราอามาน ชียานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาบดูราอามาน ชียานี
ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน
(ประมุขแห่งรัฐไนเจอร์โดยพฤตินัย)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้ามุฮัมมัด บาซูม
(ในฐานะประธานาธิบดีไนเจอร์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2503 หรือ 2504 (63 - 64 ปี)[1]
ตีลาเบรี ไนเจอร์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไนเจอร์
สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน
สังกัดกองทัพไนเจอร์
ยศนายพลกองพล
ผ่านศึกความพยายามก่อรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2564
รัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566

อาบดูราอามาน ชียานี (ฝรั่งเศส: Abdourahamane Tchiani; อาหรับ: عبد الرحمن تشياني; เกิด พ.ศ. 2503 หรือ 2504) หรือที่เรียกว่า โอมาร์ ชียานี (ฝรั่งเศส: Omar Tchiani)[2] เป็นนายพลกองพลน้อยแห่งกองทัพไนเจอร์และผู้บัญชาการหน่วยอารักขาประธานาธิบดีไนเจอร์[3][4] เขามีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 โดยการจับกุมประธานาธิบดีมุฮัมมัด บาซูม[5] ต่อมาเขาประกาศตนเป็น "ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน" เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ประวัติ

[แก้]

อาบดูราอามาน ชียานี มาจากแคว้นตีลาเบรี ซึ่งเป็นพื้นที่เกณฑ์ทหารเข้ากองทัพไนเจอร์ทางตะวันตกของประเทศ[6]

อาชีพทหาร

[แก้]

ในปี 2554 เขาเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยอารักขาประธานาธิบดีไนเจอร์ และเป็นผู้ใกล้ชิดของประธานาธิบดีมาอามาดู อีซูฟู ในปี 2561 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นนายพล ในปี 2558 ชียานีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในแผนก่อรัฐประหารต่อต้านอีซูฟู แต่เขาได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาในศาล[2]

ในปี 2564 เขาเป็นผู้นำหน่วยในการขัดขวางการพยายามก่อรัฐประหารที่หน่วยทหารพยายามยึดทำเนียบประธานาธิบดี ในช่วงสองวันก่อนที่อีซูฟูจะก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อหลีกทางให้มุฮัมมัด บาซูม ผู้สืบทอดตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชียานียังคงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยอารักขาประธานาธิบดีไนเจอร์ต่อไป[6]

การยึดอำนาจ

[แก้]

ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ชียานีนำเจ้าหน้าที่อารักขาประธานาธิบดีควบคุมตัวบาซูม ในทำเนียบประธานาธิบดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 มีรายงานว่าการรัฐประหารนำโดยชียานี ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่าบาซูมวางแผนที่จะปลดเขาออกจากตำแหน่ง[7] แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับบาซูม กล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจเลิกจ้างชียานี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม เนื่องจากมีรายงานว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาเกิดความตึงเครียด[8]

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ชียานีประกาศตนเป็นประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอนในการปราศรัยทางโทรทัศน์ของรัฐ เขากล่าวว่าการทำรัฐประหารเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะที่ค่อยเป็นค่อยไปและหลีกเลี่ยงไม่ได้ของประเทศ และกล่าวว่าบาซูมพยายามซ่อนความจริงอันโหดร้ายของประเทศ ซึ่งเขาเรียกว่า กองผู้เสียชีวิต ผู้พลัดถิ่น ความอัปยศอดสู และความคับข้องใจ นอกจากนี้เขายังวิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลว่าไร้ประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้ระบุระยะเวลาสำหรับการกลับคืนสู่การปกครองของพลเรือน[9][2][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Niger coup: Abdourahmane Tchiani declares himself leader". BBC. 28 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Niger coup: Abdourahmane Tchiani declares himself leader". BBC. 28 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  3. "Omar Tchiani: Who is the General spearheading Niger's coup?". APA. 26 July 2023. สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
  4. Tchima Illa Issoufou; Lucy Fleming (28 July 2023). "Niger coup: President Mohamed Bazoum in good health, says France". Niamey: BBC. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  5. Aksar, Moussa; Balima, Boureima (27 July 2023). "Niger soldiers say President Bazoum's government has been removed". Reuters. สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
  6. 6.0 6.1 "Who is Omar Tchiani, the suspected brain behind Niger coup?". Aljazeera. สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
  7. "Niger's president vows democracy will prevail after mutinous soldiers detain him and declare a coup". AP News. 27 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  8. "Niger army general declares himself country's new leader". Gulf News. 29 July 2023. สืบค้นเมื่อ 29 July 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Niger's General Abdourahamane Tchiani declared new leader following coup (state TV)". France 24. 28 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  10. "Niger general Tchiani named head of transitional government after coup". Aljazeera. 28 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.