เดอะเกมอะวอดส์ 2019
เดอะเกมอะวอดส์ 2019 | |
---|---|
วันที่ | 12 ธันวาคม 2562 |
สถานที่ | ไมโครซอฟท์เธียเตอร์, ลอสแอนเจลิส |
ประเทศ | สหรัฐ |
นำเสนอโดย | เจฟฟ์ ไคลีย์ |
พิธีกรก่อนเริ่มงาน | ซิดนี กู๊ดแมน |
ไฮไลต์ | |
รางวัลมากที่สุด | ดิสโกเอลิเซียม (4) |
เสนอชื่อมากที่สุด | เดธสแตรนดิง (10) |
เกมแห่งปี | เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ |
เว็บไซต์ | thegameawards.com |
โทรทัศน์/วิทยุ | |
ความยาว | 2 ชั่วโมง, 40 นาที |
จำนวนผู้ชม | 45.2 ล้านคน |
อำนวยการสร้างโดย |
|
กำกับโดย | ริชาร์ด พรีอุส |
งานประกาศรางวัลเดอะเกมอะวอดส์ 2019 (อังกฤษ: The Game Awards 2019) เป็นงานมอบรางวัลที่ยกย่องวิดีโอเกมที่ดีที่สุดของปี 2562 งานนี้ผลิตและดำเนินรายการโดยเจฟฟ์ ไคลีย์ ผู้สร้างและโปรดิวเซอร์ของเดอะเกมอะวอดส์ และจัดขึ้นกับผู้ชมที่ได้รับเชิญที่ไมโครซอฟท์เธียเตอร์ นครลอสแอนเจลิสในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ซิดนี กู๊ดแมนทำหน้าที่เป็นพิธีกรก่อนเริ่มงาน โดยงานนี้มีการสตรีมสดบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากกว่า 50 แพลตฟอร์ม เป็นครั้งแรกที่ถ่ายทอดสดในอินเดียและฉายพร้อมกันในโรงภาพยนตร์ 53 แห่งทั่วสหรัฐ ในงานนี้มีการแสดงดนตรีจากวงเชิร์ชเชส ไกรมส์ และ กรีนเดย์ และการนำเสนอจากแขกรับเชิญที่มีชื่อเสียง เช่น สตีเฟน เคอร์รี วิน ดีเซล นอร์แมน รีดัส และ มิเชลล์ ราดรีเกซ เทศกาลเกมเสมือนจริงได้จัดขึ้นทางออนไลน์ โดยเปิดให้เล่นเดโมฟรีผ่านร้านค้าสตีมตลอด 48 ชั่วโมง
เกม เดธสแตรนดิง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง 10 สาขาซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับรางวัลเกมใด ๆ จนถึงปัจจุบัน[a] ในขณะที่เกม ดิสโกเอลิเซียม เป็นเกมที่ได้รับรางวัลสูงสุดในประวัติศาสตร์ของรายการด้วยการได้รางวัลมากที่สุดถึง 4 สาขา[b] เกม เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ได้รับรางวัลเกมแห่งปี มีเกมใหม่หลายเกมที่ถูกเปิดตัวในระหว่างงานประกาศรางวัล ไม่ว่าจะเป็น Bravely Default II, Godfall และ Senua's Saga: Hellblade II และไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวเอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์ ในฐานะเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นถัดไปต่อจากเครื่องเอกซ์บอกซ์วัน การเสนอชื่อเข้าชิงของเกม เดธสแตรนดิง ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่าไม่เหมาะสมเนื่องจากความสัมพันธ์ของไคลีย์กับฮิเดโอะ โคจิมะ ผู้กำกับเกม ไคลีย์ชี้แจงว่าเขาไม่มีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียง งานประกาศรางวัลในปีนั้นได้รับกระแสวิจารณ์ผสมกัน โดยได้รับการยกย่องในการประกาศ แต่การวิจารณ์มุ่งไปที่การให้ความสำคัญกับรางวัลที่ลดลง รายการนี้มีผู้ชมมากกว่า 45 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ชมพร้อมกันสูงสุด 7.5 ล้านคน[c]
เกมที่ได้รับรางวัลและเกมที่ได้รับการเสนอชื่อ
[แก้]เกมที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเดอะเกมอะวอดส์ 2019 ถูกประกาศในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562[2] เกมใดก็ตามที่วางจำหน่ายก่อนหรือในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณา[3] เกมได้รับการเสนอชื่อได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการตัดสินซึ่งมีสมาชิกจากสื่อ 80 แห่งทั่วโลก[4] ที่ได้รับรางวัลจะถูกตัดสินระหว่างคณะกรรมการตัดสิน (90 เปอร์เซ็นต์) และการโหวตจากสาธารณะ (10 เปอร์เซ็นต์)[4] หลังจัดขึ้นผ่านทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ[5] ข้อยกเว้นคือรางวัลเกมที่ผู้เล่นโหวตให้มากทีสุด ซึ่งได้รับการเสนอชื่ออย่างเต็มที่และได้รับการโหวตจากสาธารณะหลังจากการโหวต 24 ชั่วโมงสามครั้งที่เริ่มต้นด้วย 24 เกมและจบลงด้วย 4 เกม[6] คะแนนโหวตจากสาธารณะรวม 15.5 ล้านเสียง เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์จากรายการปีก่อนหน้า[7] งานประกาศรางวัลยังรวมผู้ได้รับรางวัลพลเมืองเกมโลกใหม่ โดยความร่วมมือกับเฟสบุ๊คเกมมิ่ง ผู้ชนะสองคนได้รับการประกาศในงานอี3 2019 และสามคนสุดท้ายในระหว่างการประกาศรางวัลพร้อมกับวิดีโอโดย อินดี้เกม: เดอะมูฟวี่ จากผู้กำกับ Lisanne Pajot และ James Swirsky[8]
รางวัล
[แก้]เกมที่ได้รับรางวัลจะแสดงเป็นอันดับแรก เน้นด้วยตัวหนา และระบุด้วยกริชคู่ (‡)[4]
วิดีโอเกม
[แก้]เกมแห่งปี | กำกับเกมยอดเยี่ยม |
---|---|
เล่าเรื่องยอดเยี่ยม | ออกแบบศิลป์ยอดเยี่ยม |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | เสียงประกอบยอดเยี่ยม |
งานพากย์เสียง/การแสดงยอดเยี่ยม | เกมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมยอดเยี่ยม |
|
|
เกมที่มีการปรับปรุงในระหว่างให้เล่นยอดเยี่ยม | เกมจากนักพัฒนาอิสระยอดเยี่ยม |
| |
เกมมือถือยอดเยี่ยม | เกมความเป็นจริงเสมือน/ความเป็นจริงเสริมยอดเยี่ยม |
เกมแอ็กชันยอดเยี่ยม | เกมแอ็กชันผจญภัยยอดเยี่ยม |
เกมสวมบทบาทยอดเยี่ยม | เกมต่อสู้ยอดเยี่ยม |
เกมสำหรับครอบครัวยอดเยี่ยม | เกมวางกลยุทธ์ยอดเยี่ยม |
|
|
เกมกีฬายอดเยี่ยม | เกมผู้เล่นหลายคนยอดเยี่ยม |
|
|
เกมจากนักพัฒนาอิสระหน้าใหม่
ยอดเยี่ยม[d] |
เกมสนับสนุนชุมชนผู้เล่นยอดเยี่ยม |
|
|
รางวัลเกมที่ผู้เล่นโหวตให้มากทีสุด[e] | |
อีสปอร์ตและครีเอเตอร์
[แก้]เกมอีสปอร์ตยอดเยี่ยม | ผู้เล่นอีสปอร์ตยอดเยี่ยม |
---|---|
ทีมอีสปอร์ตยอดเยี่ยม | ผู้ฝึกสอนอีสปอร์ตยอดเยี่ยม |
|
|
งานอีสปอร์ตยอดเยี่ยม | พิธีกรอีสปอร์ตยอดเยี่ยม |
| |
ผู้สร้างเนื้อหายอดเยี่ยมแห่งปี | พลเมืองเกมโลก[f] |
|
|
เกมที่มีการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลายสาขา
[แก้]การเสนอชื่อเข้าชิงหลายสาขา
[แก้]เกม เดธสแตรนดิง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง 10 สาขา ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการจนถึงตอนนี้[a] มีเกมอื่น ๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลายสาขา ได้แก่ เกม คอนโทรล ที่ 8 สาขา และ เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ที่ 5 สาขา นินเท็นโดได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 15 สาขา ซึ่งมากกว่าผู้จัดจำหน่ายรายอื่น ตามมาด้วยโซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่ 12 สาขา และแอ็กทิวิชัน ที่ 10 รายการ[2]
จำนวนสาขาที่เสนอชื่อเข้าชิง | เกม |
---|---|
10 | เดธสแตรนดิง |
8 | คอนโทรล |
5 | เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ |
4 | เอเพ็กซ์เลเจนส์ |
ดิสโกเอลิเซียม | |
ดิเอาเตอร์เวิร์ล | |
เรซิเดนต์อีวิล 2 | |
ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส อัลติเมต | |
3 | คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ |
ไฟนอลแฟนตาซี XIV | |
ฟอร์ตไนต์ | |
เกียร์ส 5 | |
กริสต์ | |
Outer Wilds | |
Sayonara Wild Hearts | |
2 | บอร์เดอร์แลนด์ส 3 |
เดสตินี 2 | |
เดวิลเมย์คราย 5 | |
ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ | |
คิงดอมฮาตส์ III | |
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง | |
ทอม แคลนซีส์ เรนโบว์ซิกส์ ซีจ | |
Untitled Goose Game |
จำนวนสาขาที่เสนอชื่อเข้าชิง | ผู้จัดจำหน่าย |
---|---|
15 | นินเท็นโด |
12 | โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
10 | แอ็กทิวิชัน |
8 | 505 เกม |
7 | แคปคอม |
อิเล็กทรอนิก อาตส์ | |
6 | แอนนาเพอร์นาอินเตอร์แอ็กทีฟ |
สแควร์เอนิกซ์ | |
4 | ดีวอลเวอร์ดิจิตอล |
Private Division | |
ยูบิซอฟต์ | |
ZA/UM | |
3 | เอปิกเกมส์ |
เอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ | |
2 | ทูเคเกมส์ |
บันจี | |
โค้ดมาสเตอร์ส | |
Panic | |
วาล์ว |
รางวัลหลายสาขา
[แก้]เกม ดิสโกเอลิเซียม ได้รับรางวัลมากที่สุด โดยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้ง 4 สาขา ทำให้เป็นเกมเข้าชิงที่ได้รับรางวัลสูงสุดในประวัติศาสตร์งานประกาศรางวัลจนถึงปัจจุบัน[b] เดธสแตรนดิง ได้รับรางวัล 3 สาขา ขณะที่เกม ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ และ เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ ได้รับรางวัล 2 สาขา แอ็กทิวิชันเป็นผู้จัดจำหน่ายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ได้รับรางวัลทั้งหมด 5 สาขา ในขณะที่นินเท็นโด และ ZA/UM ได้รับรางวัล 4 สาขา[4]
สาขา | เกม |
---|---|
4 | ดิสโกเอลิเซียม |
3 | เดธสแตรนดิง |
2 | ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ |
เซกิโระ: แชโดวส์ดายทไวซ์ |
สาขา | ผู้จัดจำหน่าย |
---|---|
5 | แอ็กทิวิชัน |
4 | นินเท็นโด |
ZA/UM | |
3 | โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สถิติการเสนอชื่อเข้าชิง 10 สาขาของเกม เดธสแตรนดิง ถูกโค่นล้มจากการเสนอชื่อเข้าชิง 11 สาขาของเกม เดอะลาสต์ออฟอัสพาร์ท II ที่งาน เดอะเกมอะวอดส์ 2020[10]
- ↑ 2.0 2.1 สถิติการได้รับรางวัล 4 สาขาของเกม ดิสโกเอลิเซียม นั้นเสมอกับเกม โอเวอร์วอตช์ ในปี 2559[11] และเกม เรดเดดรีเดมพ์ชัน 2 ในปี 2561[12] ก่อนจะถูกโค่นล้มโดยเกม เดอะลาสต์ออฟอัสพาร์ท II ที่ได้รางวัลถึง 7 สาขาในปี 2563[13]
- ↑ สถิติการรับชมถูกทำลายสถิติโดยการรับชมในปี 2563 ด้วยจำนวนผู้ชม 83 ล้านคน[1]
- ↑ รางวัลสำหรับเกมเปิดตัวที่ดีที่สุดโดยสตูดิโอนักพัฒนาอิสระในปี 2562[9]
- ↑ รางวัลโหวตจากแฟน ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีกระบวนการเสนอชื่อสามรอบที่เริ่มด้วยเกม 24 เกม ไฟร์เอมเบลม: ทรีเฮาส์ ชนะด้วยคะแนนโหวต 45 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยเกม ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส อัลติเมต ด้วยคะแนน 22 เปอร์เซ็นต์[6]
- ↑ นำเสนอร่วมกับเฟสบุ๊คเกมมิ่ง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stedman, Alex (December 17, 2020). "The Game Awards 2020 Show Hits Record Viewership With 83 Million Livestreams". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Shanley, Patrick (November 19, 2019). "The Game Awards Reveals Full List of Nominees". The Hollywood Reporter. Valence Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ Van Allen, Eric (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 Nominations". USgamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Goslin, Austen (December 13, 2019). "All the winners from The Game Awards 2019". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ Denzer, TJ (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 nominees and how to vote". Shacknews. Gamerhub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Doolan, Liam (December 13, 2019). "Fire Emblem: Three Houses Crowned Strategy Game Of The Year". Nintendo Life. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ Stedman, Alex (December 18, 2019). "Geoff Keighley Looks to The Game Awards' Future as 2019 Show Delivers Record Numbers". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2019. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ 8.0 8.1 Olebe, Leo (December 12, 2019). "Celebrating Global Gaming Citizens at The Game Awards 2019". Facebook Gaming. Facebook, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2021. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ Chalk, Andy (November 19, 2019). "Death Stranding and Control lead The Game Awards 2019 nominations". PC Gamer. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2020. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ Bailey, Dustin (November 18, 2020). "Hades and Last of Us Part II lead the Game Awards 2020 nominees". PCGamesN. Network N. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
- ↑ Totilo, Stephen (December 1, 2016). "Overwatch Wins Game Of The Year At The 2016 Game Awards". Kotaku. Univision Communications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2016. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
- ↑ Wood, Austin (December 7, 2018). "Red Dead Redemption 2 wins Best Narrative, Best Score, and more at The Game Awards 2018". GamesRadar. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2018. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
- ↑ Stedman, Alex (December 10, 2020). "The Game Awards 2020: Complete Winners List". Variety. Penske Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.