Retinal pigment epithelium
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทางของกายวิภาคศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย หนังสือเฉพาะทางใช้ศัพท์อังกฤษ |
Retinal pigment epithelium | |
---|---|
ภาพตัดของเรตินา ชั้น Pigmented layer อยู่ข้างล่างด้านขวา | |
แผนผังของเซลล์ประสาทในจอประสาทตา ชั้น Pigmented layer อยู่ข้างล่างด้านขวา | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Stratum pigmentosum retinae, pars pigmentosa retinae |
MeSH | D055213 |
TA98 | A15.2.04.008 |
TA2 | 6782 |
FMA | 58627 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
pigmented layer of retina หรือ retinal pigment epithelium (ตัวย่อ RPE แปลว่า เยื่อบุมีสารรงควัตถุของจอประสาทตา หรือ เยื่อบุมีสารสีของจอประสาทตา) เป็นชั้นเซลล์ประสาทด้านนอก (ไปทางสมอง) ของจอประสาทตา RPE มีหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท และยึดอยู่กับชั้น choroid ที่อยู่ถัดออกไปอีกและกับเซลล์รับแสงที่อยู่ถัดเข้ามา[1][2]
ประวัติ
[แก้]ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 RPE รู้จักกันว่า pigmentum nigrum (nigrum แปลว่า ดำหรือเข้ม) เพราะ RPE มีสีเข้ม (มีสีดำในสัตว์หลายอย่าง มีสีน้ำตาลในมนุษย์) และ tapetum nigrum เพราะในสัตว์ที่มี tapetum lucidum (เป็นชั้นสะท้อนแสง เช่นในตาแมว) RPE จะไม่มีสารรงควัตถุในเขตของ tapetum lucidum[3]
กายวิภาค
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
หน้าที่
[แก้]RPE ป้องกันจอประสาทตาจากแสงที่จ้ามากเกินไป และหล่อเลี้ยงจอตาด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อสร้างเยื่อหุ้มไวแสงและสร้างน้ำตาลกลูโคสเพื่อเป็นพลังงาน ส่วน retinal[4] นั้นเกิดขึ้นผ่านกระบวนการหมุนเวียนของวิตามินเอ
จะมีการขับน้ำออกจากส่วนของเรตินาไปยังส่วนของ choroid ในอัตรา 1.4-11 ไมโครลิตรต่อตารางเซนติเมตรต่อชั่วโมง RPE ช่วยรักษาความสมดุลของความเป็นกรด และใช้กระบวนการฟาโกไซโทซิสเพื่อกำจัด disc ในส่วน outer segment ของเซลล์รับแสงที่เก่าที่สุด[5] RPE มีระบบภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งจะระงับการเชื่อมต่อกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีสภาพปกติ แต่จะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีโรค นอกจากนั้นแล้ว RPE ยังหลั่งสารต่าง ๆ เพื่อสร้างและรักษา choroid และจอประสาทตา[6]
RPE ยังเป็นตัวจำกัดการไหลเหวียนของสารต่าง ๆ ในเรตินาอีกด้วย โดยเป็นผู้นำส่งโมเลกุลเล็ก ๆ เช่นกรดอะมิโน, กรด ascorbic, และ D-glucose ในขณะที่เป็นตัวกั้นสารต่าง ๆ ที่มากับเลือดภายใน choroid ดังนั้น ภาวะธำรงดุลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นไอออนจึงเป็นไปได้ด้วยระบบแลกเปลี่ยนที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้
ในการทดลองทางคลินิกหลายงาน มีการรักษาบำบัดจอประสาทตาเสื่อมที่จุดเห็นชัด (macular degeneration) ด้วยการเปลี่ยน RPE โดยใช้เซลล์จากตน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการทดลองเพื่อจุดประสงค์เดียวกันโดยใช้ RPE ที่มีการให้แพร่ขยายภายนอกกายอีกด้วย[7]
โรค
[แก้]ในตาของผู้มีภาวะผิวเผือก เซลล์ใน RPE ไม่มีสารรงควัตถุ นอกจากนั้นแล้ว ความบกพร่องของ RPE ยังพบอีกด้วยในคนไข้ Age-Related Macular Degeneration (AMD คือจุดเห็นชัดเสื่อมสัมพันธ์กับอายุ) และ Retinitis Pigmentosa
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Cassin, B. and Solomon, S. (2001). Dictionary of eye terminology. Gainesville, Fla: Triad Pub. Co. ISBN 0-937404-63-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Boyer MM, Poulsen GL, Nork TM. "Relative contributions of the neurosensory retina and retinal pigment epithelium to macular hypofluorescence." Arch Ophthalmol. 2000 Jan;118 (1) :27-31. PMID 10636410.
- ↑ Coscas, Gabriel and Felice Cardillo Piccolino (1998). Retinal Pigment Epithelium and Macular Diseases. Springer. ISBN 0-7923-5144-4.
- ↑ retinal เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า retinaldehyde หรือ vitamin A aldehyde เป็นรูปแบบในหลายรูปแบบของวิตามินเอซึ่งในแต่ละสปีชีส์จะมีจำนวนรูปแบบไม่เท่ากัน เป็น polyene chromophore (คือส่วนกำเนิดสีมีพันธะแบบคู่เป็นจำนวนมาก) รวมอยู่ในโปรตีน opsin เป็นโครงสร้างเคมีพื้นฐานในการเห็นของสัตว์
- ↑ http://news.wustl.edu/news/Pages/25621.aspx[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://webvision.med.utah.edu/book/part-ii-anatomy-and-physiology-of-the-retina/the-retinal-pigment-epithelium/ Webvision: The retinal pigment epithelium
- ↑ John S.; และคณะ (2013). "Choice of cell source in cell based therapies for retinal damage due to age related macular degeneration (AMD) : A review". Journal of Ophthalmology.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- pigment epithelium of eye ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยบอสตัน 07902loa (อังกฤษ)
- ภาพเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยแคนซัส eye_ear-eye11(อังกฤษ)