ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองไทยของญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกครองไทยของญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง

พื้นที่ยกพลขึ้นบกและเคลื่อนทัพสู่ประเทศไทย ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941)
วันที่8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
สถานที่
ผล

ยุติการสู้รบ

  • ไทยลงนามสงบศึกกับญี่ปุ่น
  • ไทยประกาศยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศ
คู่สงคราม
 ไทย  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ไทยแปลก พิบูลสงคราม จักรวรรดิญี่ปุ่น โชจิโร อีดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทโมยูกิ ยามาชิตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โนบูตาเกะ คนโด
กำลัง
  • กองพันทหารราบที่ 38
  • กองพันทหารราบที่ 39
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 14
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 15
  • กองพาหนะ มณฑลทหารบกที่ 1
  • กองพันทหารสื่อสารที่ 6
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13
  • กองพันทหารราบที่ 41
  • กองพันทหารราบที่ 42
  • หน่วยขึ้นตรงกรมทหารราบที่ 4
  • กองพันนาวิกโยธินที่ 1
  • กองพันนาวิกโยธินที่ 2
  • เรือหลวงแม่กลอง
  • เรือหลวงท่าจีน
  • เรือหลวงระยอง
  • เรือหลวงตราด
  • เรือหลวงสุราษฎร์
  • เรือหลวงปัตตานี
  • เรือหลวงบางระจัน
  • เรือหลวงพงัน
  • กองบินน้อยที่ 5 ประจวบคีรีขันธ์
  • กองบินที่ 56 สงขลา
  • กองบินใหญ่ผสมภาคใต้
  • กองบินที่ 43 วัฒนานคร
กองทัพที่ 15
กองทัพที่ 25
กองเรือที่ 2

การบุกครองไทยของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本軍のタイ進駐โรมาจิNihongun no Tai shinchū) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นการสู้รบระหว่างราชอาณาจักรไทยกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ในระยะเวลานานประมาณนึง การสู้รบที่ดุเดือดที่เกิดขึ้นในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยกินเวลากว่า 6 ชั่วโมงก่อนที่จะสิ้นสุดด้วยการประกาศให้ไทยเป็นทางผ่านของประเทศญี่ปุ่นในที่สุด[1] แต่บางจุดที่คำสั่งส่งถึงช้าก็ยังสู้รบกันจนถึง วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2484 เช่น กองบินน้อยที่ 5 ประจวบคีรีขันธ์ หรือ จุดอื่นๆ แต่ไม่ถึงวันที่ 9 เช่น สงขลา ปัตตานี เป็นต้นซึ่งในเหตุการณ์นี้ ทหาร ตำรวจ[2]ยุวชนทหาร และ ประชาชนไทย ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างถวายชีวิต และ ถวายหัว จากนั้น ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรกันเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรอักษะจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

ภูมิหลัง

[แก้]

ที่มาของการรุกรานไทยของญี่ปุ่นนั้นสามารถสืบย้อนไปถึงหลักการของฮักโก อิชิอุ ซึ่งดำเนินการโดย ทานะกะ ชิยากุ ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1800[3] ทานะกะถือหลักการปกครองของจักรพรรดิญี่ปุ่นได้ถูกกำหนดโดยเทพเจ้าพระอาทิตย์ (เทพเจ้าของญี่ปุ่น) ให้ญี่ปุ่นมีสิทธิที่จะปกครองและรวมทวีปเอเชียเป็นหนึ่งเดียว โดยใช้หลักการนี้ในการปลดปล่อยเอเชียจากการล่าอาณานิคมและขับไล่ชาติตะวันออกไป และสร้างญี่ปุ่นให้เป็นผู้นำอิทธิพลในเอเชียแทน[4]

ในปี พ.ศ. 2483 แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิมาโระ โคโนเอะ ซึ่งพยายามสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมถึง แมนจูกัว ประเทศจีน และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามการโฆษณาชวนเชื่อของจักรวรรดิ สิ่งนี้จะสถาปนาระเบียบระหว่างประเทศใหม่ที่แสวงหา "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" สำหรับประเทศในเอเชียซึ่งจะแบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองและสันติภาพ ปราศจากลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตกและการครอบงำภายใต้ร่มธงของญี่ปุ่นที่มีเมตตากรุณา[5]

วัฒนธรรมนิยม

[แก้]

หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]
  • Thavenot, A. F. (1942). "Thailand and the Japanese Invasion". Journal of The Royal Central Asian Society. 29 (2): 111–19.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brecher & Wilkenfeld 1997, p. 407.
  2. Bhangsbha, Sorasan (2000). สงครามมืด วันญี่ปุ่นบุกไทย. Samnakphim Sārakhadī. ISBN 978-974-8212-29-6.
  3. James L. McClain, Japan: A Modern History p 470 ISBN 0-393-04156-5
  4. John Toland, The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire 1936-1945 p 447 Random House New York 1970
  5. Iriye, Akira. (1999). Pearl Harbor and the coming of the Pacific War: a Brief History with Documents and Essays, p. 6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]