ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยุทธการเคียฟครั้งที่หนึ่ง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ใน แนวรบด้านตะวันออก ของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
การรุกช่วงแรกของเยอรมันในปฏิบัติการบาร์บารอสซา | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
นาซีเยอรมนี | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ |
เซมิออน บูดิออนนืย (ออกจากการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 13 กันยายน) มิคาอิล เคอโพโนส † | ||||||
กำลัง | |||||||
500,000 คน | 627,000 คน[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทั้งหมด 61,239 คน[2] เสียชีวิต 12,728 คน บาดเจ็บ 46,480 คน สูญหา 2,085 คน |
700,544 คน[1]
เครื่องบิน 343 ลำ[3] เสียปืนและปืนครกไป 28,419 กระบอก[4] |
ยุทธการเคียฟครั้งที่หนึ่ง เป็นยุทธการที่เป็นการปิดล้อมทหารโซเวียตขนาดใหญ่โดยเยอรมันในแถบรอบเมืองเคียฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งการล้อมนี้ถือว่ายาวที่สุดในประวัติศาสตร์การรบ (จากจำนวนทหาร) ปฏิบัติการเริ่มต้นตั้งแต่ 7 สิงหาคม ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1941 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการบาร์บารอสซาในช่วงที่ฝ่ายอักษะบุกสหภาพโซเวียต ในประวัติศาสตร์การทหารของโซเวียต มันถูกเรียกว่า ปฏิบัติการป้องกันเชิงกลยุทธ์เคียฟ และวันเวลาในการรบค่อนข้างจะแตกต่าง คือ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1941[5]
เกือบทั้งหมดของกองพลตะวันตกเฉียงใต้ ของ กองทัพแดง ถูกล้อม อย่างไรก็ตามการล้อมเคียฟก็ไม่สมบูรณ์และทหารโซเวียตบางส่วนสามารถหลบหนีไปได้หลังจากที่เยอรมันทำการรุกโอบล้อมในทางตะวันออกของเมือง รวมไปถึงฐานทัพใหญ่ของ จอมพลเซมิออน บูดิออนนืย, จอมพลเซมิออน ตีโมเชนโค และ ผู้ตรวจการทางการเมืองนีกีตา ครุชชอฟ ผู้บังคับบัญชาแห่งกองพลตะวันตกเฉียงใต้มิคาอิล เคอโพโนสซึ่งติดกับดักหลังแนวเยอรมันและถูกสังหารในระหว่างการต่อสู้
ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของกองทัพแดงในครั้งนี้โดยมีทหารถูกล้อมถึง 452,700 คน, ปืนใหญ่และปืนครก 2,642 กระบอก และรถถัง 64 คัน และมีทหารเพียง 15,000 คนที่สามารถหลุดรอดจากวงล้อม ในวันที่ 2 ตุลาคม กองพลตะวันตกเฉียงใต้สูญเสียรวมทั้งหมด 700,544 คน รวมถึงทหารที่เสียชีวิตถูกจับหรือสูญหาย 616,304 คน ในช่วงการรบ
ก่อนการรบ
[แก้]หลังจากการรุกอย่างรวดเร็วของกองทัพกลุ่มกลาง มุ่งไปสู่การทำลายส่วนกลางของ แนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ร่วมกับ กองทัพกลุ่มใต้ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ทหารโซเวียตก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน จุดยุทธศาสตร์สำคัญเกือบทั้งหมดของกองพลตะวันตกเฉียงใต้ ในรอบเมืองเคียฟ [6][7] ซึ่งกำลังขาดแคลนยานเกราะและรถถัง
ในวันที่ 3 สิงหาคม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้หยุดการรุกสู่มอสโกเป็นการชั่วคราวและสั่งให้เคลื่อนทัพลงใต้และโจมตีเคียฟในยูเครน[8] อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1941 คำสั่งส่งกำลังเสริมครั้งที่ 34 ก็ถูกดำเนินการแต่ก็ถูกต่อต้านโดยนายทหารภาคสนามบางส่วน แต่ฮิตเลอร์ก็มีความมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทหารโซเวียตได้ในทางด้านปีกขวาของกองทัพกลุ่มกลาง ในแถบรอบเมืองเคียฟ ก่อนจะทำการรุกสู่มอสโก และมีจอมพลที่ต่อต้านคือฟรันซ์ ฮัลเดอร์, เฟดอร์ ฟอน บอค, ไฮนซ์ กูเดเรียน ว่าควรรุกสู่มอสโกต่อไปแต่ฮิตเลอร์ไม่ฟังและสั่งให้ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กลุ่มพันเซอร์ที่สาม ของกองทัพกลุ่มกลาง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ได้รับคำสั่งช่วยเหลือกองทัพกลุ่มเหนือ และ กองทัพกลุ่มใต้ ตามลำดับก่อนที่จะกลับมาอยู่กองทัพกลุ่มกลางร่วมกับกลุ่มพันเซอร์ที่สี่ ของกองทัพกลุ่มเหนือ ครั้งหนึ่งจุดประสงค์ของแม่ทัพกองทัพกลุ่มกลางเคยประสบความสำเร็จในการที่มีกลุ่มพันเซอร์สามกลุ่มภายใต้การควบคุมของ กองทัพกลุ่มกลาง ในการรุกสู่มอสโก[9] ในขั้นต้น จอมพลฮัลเดอร์หัวหน้าของกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมัน ฝ่ายพนักงานทั่วไปและจอมพลบอค นายพลแห่งกองทัพกลุ่มกลาง เกิดความพึงพอใจในแผนการนี้แต่ก็ถูกต่อต้านเมื่อนำไปเทียบกับความเป็นจริง[10]
ในวนที่ 18 สิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ส่งจดหมายการพิจารณาเกี่ยวกับจุดยุทธศาสตร์ถึงฮิตเลอร์ เกี่ยวกับปฏิบัติการในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ในกระดาษเขียนเกี่ยวกับเรื่องการรุกสู่มอสโกและการโต้เถียงเกี่ยวกับว่าการที่กองทัพกลุ่มเหนือและกองทัพกลุ่มใต้มีความแข็งแกร่งพอที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การที่กองทัพกลุ่มกลางขาดการสนับสนุน และ การชี้ถึงเวลาว่าจะสามารถยึดมอสโกได้อย่างเด็ดขาดในช่วงก่อนฤดูหนาวหรือไม่[10]
วันที่ 20 สิงหาคม ฮิตเลอร์ปฏิเสธแผนการทำลายเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของโซเวียต ในวันที่ 21 สิงหาคม อัลเฟรด โยเดิล แห่ง กองบัญชาการกองทัพบกเยอรมัน ได้ออกคำสั่งของฮิตเลอร์ถึงจอมพล วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ ผู้บัญชาการกองทัพบก คำสั่งนั้นย่ำว่าต้องยึดมอสโกให้ได้ก่อนฤดูหนาวเท่านั้นและเป็นคำสั่งที่ค่อนข้างสำคัญมากก่อนจะนำทัพไปยึดคาบสมุทรไครเมีย กับแหล่งอุตสาหกรรมและถ่านหินในแถบลุ่มแม่น้ำแม่น้ำดอน ก่อนจะแยกกำลังไปยึดแหล่งน้ำมันในคอเคซัส ก่อนจะค่อยยึดส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียตต่อไปและทางด้านเหนือก็โอบล้อมเลนินกราด และเชื่อมกับทหารฟินแลนด์ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆจะเป็นหน้าที่ของกองทัพกลุ่มกลาง คือ การจัดสรรทรัพยากรกับทำลายกองพลรัสเซียที่ 5 และป้องกันการโต้กลับของโซเวียตในแถบภาคกลาง[11] [12] ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ ถึงกับตกตะลึงและไปอธิบายกับฮิตเลอร์ในภายหลังว่า"มันเพ้อฝันเกินไปและมันเป็นไปไม่ได้"แต่คำสั่งก็ถูกสั่งการออกไปและฮิตเลอร์เป็นคนเดียวที่ต้องรับความผิดชอบในคำสั่งนี้และทำให้เกิดความขัดแย้งภายในมากขึ้นและมันก็เป็นการสะท้อนในเจตนาของฮิตเลอร์ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ตระหนักมาตลอด[13] เจอฮาร์ด เอนเจิล ในไดอารี่ของเขาลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1941"มันเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพบก".[14] ฮอลเดอร์ประกาศลาออกและให้คำแนะนำแก่เบราชิทช์ แต่อย่างไรก็ตามแก่เบราชิทช์ก็ปฏิเสธและฮิตเลอร์ก็นิ่งเฉยต่อการกระทำของเขาจนในที่สุดฮอลเดอร์ก็ถอนใบลาออก [13]
ในวันที่ 23 สิงหาคม ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ เรียกประชุมกับจอมพลบอค และจอมพลกูเดเรียนใน บารีซอฟ (ใน สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) และหลังจากการไปพบฮิตเลอร์ที่ฐานทัพในปรัสเซียตะวันออกกับจอมพลกูเดเรียนและระหว่างการพบ ฮิตเลอร์ และ กูเดเรียน[15] และต่อต้านข้อเสนอของฟรานซ์ ฮอลเดอร์ และ วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ และกูเดเรียนได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์ให้นำทัพในการรุกสู่มอสโก และปฏิเสธการต่อต้าน ฮิตเลอร์อ้างว่าการตัดสินใจของตนจะทำให้ภาคเหนือ (รัฐบอลติก) กับ ภาคใต้ (ยูเครน) ในโซเวียตตะวันตก และยังพูดว่า "การยึดมอสโก มีความสำคัญมากกว่าปัญหาอื่นๆ" และยังพูดอีกว่า "มันไม่ใช่ปัญหาใหม่เลยแต่ความเป็นจริงมันบอกว่ามันมีโอกาสตั้งแต่เราเริ่ม (ปฏิบัติการบาร์บารอสซา) แล้ว" นอกจากนี้ยังมีการโต้แย้งว่าตอนนี้อยู่ในสภาวะขั้นวิกฤตเพราะโอกาสในการโอบล้อมทหารโซเวียตในจุดยุทธศาสตร์แทบเรียกว่า"เป็นเพียงแค่ความไม่คาดฝันเท่านั้น และมันเป็นการบรรเทาจากถูกทหารโซเวียตถ่วงเวลาในภาคใต้เท่านั้น"[13] ฮิตเลอร์ประกาศว่า "คัดค้านในการที่เสียเวลาไปทำลายทหารโซเวียตทางยูเครน จนทำให้การรุกสู่มอสโกล่าช้าหรือการที่ยานเกราะขาดการสนับสนุนตามเทคนิคสามารถส่งไปได้แต่ไม่สมบูรณ์" ฮิตเลอร์ ย้ำว่าครั้งหนึ่งปีกของกองทัพกลุ่มกลางทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะทางภาคใต้และได้รับอนุญาตให้กลับไปนำการรุกสู่มอสโกและการรุกครั้งนี้สรุปโดยความว่า"ต้องไม่พลาด"[14] ในความเป็นจริงฮิตเลอร์เตรียมออกคำสั่งย้ายกลุ่มพันเซอร์ของจอมพลกูเดเรียนไปทางภาคใต้[16] กูเดเรียนกลับไปยังกลุ่มพันเซอร์ของเขากลุ่มพันเซอร์ที่สอง และเริ่มการรุกสู่ภาคใต้และเริ่มความพยายามในการปิดล้อมจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโซเวียต[13]
กองทัพส่วนใหญ่ของ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กองพลที่สอง ถูกโดดเดี่ยวจากกลุ่มกองทัพกลางและถูกส่งไปยังแนวรบด้านใต้[17] และภารกิจในการโอบล้อมIts mission was to encircle the กองพลตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งถูกควบคุมโดยบูดิออนนืยและเชื่อมต่อกับกลุ่มพันเซอร์ที่หนึ่ง แห่ง กองทัพกลุ่มใต้ ภายใต้การควบคุมของนายพลฟอน ไคลสท์ ที่เคลื่อนพลมาจากทางด้านตะวันออกเฉียงใต้[18]
ยุทธการ
[แก้]กองทัพพันเซอร์ได้เริ่มบุกทันที่ ในวันที่ 17 กันยายน กลุ่มพันเซอร์ที่หนึ่งภายได้การนำของนายพลฟอน ไคลสท์ นำกองทัพข้าม แม่น้ำนีเปอร์ และโจมตี กองพลตะวันตกเฉียงใต้ของเซมิออน บูดิออนนืย ในวันที่ 16 กันยายนกลุ่มพันเซอร์ที่สอง ภายใต้การนำของไฮนซ์ กูเดเรียน นำกองทัพเข้าทางใต้ ของเมือง Lokhvitsa, 120 ไมล์ หลังเมืองเคียฟ.[19] เซมิออน บูดิออนนืยโดนขับออกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสตาลินในวันที่ 13 กันยายน
หลังจากการโจมตีที่ล้มเหลวของกองทัพโซเวียต กองทัพที่ 6 และ 17 ของเวร์มัคท์ได้เรื่มโจมตีเคียฟในวันที่ 19 กันยายน, เคียฟ ล้มเหลวในการบุกโจมตีกลับและการสู้รบยังดำเนินต่อไป ในที่สุดหลังจาก 10 วันในการสู้รบอย่างหนักและดุเดือดนครเคียฟก็แตกกองทัพตะวันออกชุดสุดท้ายในเคียฟก็ยอมจำนน ในวันที่ 26 กันยายน เวร์มัคท์จับเชลยทหารของกองทัพแดงได้ประมาณ 600,000 นาย
หลังการรบ
[แก้]หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนีได้กล่าวว่า ปฏิบัติการในเคียฟ ควรถูกเลื่อนออกและเริ่ม ยุทธการมอสโก ซึ่งควรเริ่มในเดือนกันยายนและตุลาคม เวร์มัคท์ ก็จะสามารถบุกและยึดมอสโกได้ในช่วงก่อนฤดูหนาว[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Glantz 1995, p. 293.
- ↑ "1941". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 9 August 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Krivosheev 1997, p. 260.
- ↑ Liedtke 2016, p. 148.
- ↑ Krivosheev 1997, p. 114.
- ↑ Glantz 2011, pp. 54–55.
- ↑ Clark 1965, p. 130.
- ↑ Clark 1965, p. 101.
- ↑ Glantz 2011, p. 55.
- ↑ 10.0 10.1 Glantz 2011, p. 56.
- ↑ Glantz 2011, p. 57.
- ↑ Glantz 2011, p. 60.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Glantz 2011, p. 58.
- ↑ 14.0 14.1 Glantz 2011, p. 59.
- ↑ Guderian 1952, p. 200.
- ↑ Guderian 1952, pp. 202.
- ↑ Clark 1965, p. 111,139.
- ↑ Clark 1965, p. 133.
- ↑ Clark 1965, p. 135,141.
- ↑ Glantz 2001, p. 23.
บรรณานุกรม
[แก้]- Read, Anthony (2005). The Devil's Disciples: Hitler's Inner Circle. W W Norton & Co. ISBN 0-3933-2697-7.
- Glantz, David (2001). The Soviet–German War 1941–1945: Myths and Realities: A Survey Essay. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
- Clark, Alan (1965). Barbarossa: The Russian–German Conflict, 1941–45. London: William Morrow and Company.
- Glantz, David (2011). Barbarossa Derailed: The Battle for Smolensk, Volume 2. Birmingham: Helion & Company. ISBN 978-1-9060-3372-9.
- Glantz, David (1995). When Titans Clashed: How the Red Army Stopped Hitler. Lawrence: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-0899-0.
- Krivosheev, Grigori F. (1997). Soviet Casualties and Combat Losses in the Twentieth Century. London: Greenhill Books. ISBN 1-85367-280-7.
- Liedtke, Gregory (2016). Enduring the Whirlwind: The German Army and the Russo-German War 1941–1943. Helion and Company. ISBN 978-1910777756.
หนังสือเพิ่มเติม
[แก้]- Erickson, John (1975). The Road to Stalingrad, Stalin's War with Germany. New York: Harper & Row. ISBN 0-06-011141-0.
- Stahel, D. (2012). Kiev 1941: Hitler's Battle for Supremacy in the East. London: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-01459-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]Freier, Thomas (2009). "10-Day Medical Casualty Reports". Human Losses in World War II. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012.